Civil 3D picture

Civil 3D picture

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

งานสำรวจด้วย Laser Scanner

จากที่ได้ on-line เรียนรู้เรื่อง การสำรวจด้วยเครื่อง Laser Scanner – Faro ทำให้สนใจค้นคว้าหาข้อมูลมาเพิ่มเติมเพื่อเขียนเป็นบทความเกี่ยวกับวิวัฒนาการงานสำรวจ และการนำข้อมูลสำรวจนั้นมาทำงานออกแบบ ในบทความนี้จะกล่าวถึง

·        วิวัฒนาการของงานสำรวจโดยดูจากวิวัฒนาการของเครื่องมือสำรวจ
·        Laser Scanner ทำงานอย่างไร
·        Workflow

วิวัฒนาการของงานสำรวจ




ดูที่รูปภาพที่แสดงถึงวิวัฒนาการของเครื่องมือสำรวจที่พยายามหารูปมาสื่อให้เข้าใจได้ง่าย
การสำรวจถ้าเรามองย้อนไปในอตีตจะเห็นวิวัฒนาการของเครื่องมือการสำรวจ จากการวัดด้วยเครื่องมือพื้นฐานเช่น โซ่วัดระยะจากระบบ Manual ได้พัฒนามาเป็นระบบเครื่องมือกลไก กึ่ง Manual เป็นครื่อง Transit, Theodolite วัดมุมในแนวระนาบและแนวดิ่ง เครื่องวัดระดับ (Level) แล้ววิวัฒนาการมาเป็นระบบ Digital เป็นเครื่องมือสำรวจระบบ Total Station, ระบบ GPS (Global Positioning Systems) และเป็นระบบ Laser Scanner ที่จะกล่าวถึงต่อไป

ในต่างประเทศและบ้านเรามีการนำข้อมูล Digital ที่ได้จากเครื่องมือสำรวจ นำไปใช้งานด้านการออกแบบในคอมพิวเตอร์ มานานหลายปีแล้ว ตัวอย่างคือการที่เรานำข้อมูลสำรวจไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบ (ที่มีค่าการสำรวจเป็นมุม,ระยะ) หรือข้อมูลสำรวจที่มีการคำนวณแล้วเป็นค่าพิกัด N,E,Z เป็นต้น download มาใช้งานต่อในคอมพิวเตอร์กับโปรแกรม AutoCAD หรือ AutoCAD Lad Desktop หรือ Civil 3D เพื่อนำมาสร้าง Contours และออกแบบด้านสาธารณูปโภคเช่น ทำ Site Design หรือ Road/Channel Design ต่อไป ในการใช้ข้อมูลสำรวจก็จะเริ่มจากข้อมูลในระดับหลักร้อยจุดไปจนถึงระดับแสนจุด ขึ้นอยู่กับระบบ เครื่องมือที่ใช้ และขนาดของโครงการ

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาได้พบว่า เทคโนโลยีทางด้านการสำรวจในปัจจุบันได้พัฒนาไปมาก ได้มีการพัฒนาเครื่องมือสำรวจเป็นระบบ Laser Scan ซึ่งเป็นอีกพัฒนาการหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานแบบใหม่ และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพิ่มมาให้เรามาเรียนรู้กัน เหมือนเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมาเรามีระบบ Total Station มาให้ใช้งานและเรียนรู้  ระบบ Laser Scan ยังคงการ link ข้อมูลสำรวจเพื่อนำมาใช้งานด้านการออกแบบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งงานออกแบบด้านอาคาร ซ่อมแซมอาคาร และงานออกแบบสาธารณูปโภคเช่น ถนนหรือทางระบายน้ำ รวมทั้งปริมาณข้อมูลสำรวจที่มีมากขึ้นกว่าเดิมมหาศาล โดยข้อมูลสำรวจสามารถมีได้ในระดับหลักล้านจุดจนถึงระดับพันล้านจุดสำรวจ

 Laser Scanner ทำงานอย่างไร

การใช้เครื่องมือ Laser Scanner จากภาพประกอบจะเป็นตัวอย่างการทำงานด้วยเครื่อง Laser Scanner ที่เชื่อมต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ WLAN เพื่อให้เห็นภาพการทำงานในการใช้งานแสกนพื้นที่ภายในอาคาร ข้อดีของการทำงานแบบนี้คือ ทำงานได้รวดเร็วกว่าระบบเดิมๆมาก ข้อมูลที่ได้ค่อนข้างละเอียดเพราะเราพูดถึงข้อมูลระดับ พันล้านจุดขึ้นไป






ดังตัวอย่างงานสแกนอาคาร ที่แสกนระดับ 1.2 พันล้านจุด ทำงานด้วยโปรแกรม AutoCAD แบบอาคารที่ยังไม่มี texture และตัวอย่างข้อมูลรุ่นใหม่ที่สแกนภายในโบสถ์ โดยมี texture ประกอบด้วย
Workflow

ข้อมูลเลเซอร์สแกนที่ได้มาสามารถนำมาใช้งานกับโปรแกรมของ Autodesk ได้ตั้งแต่โปรแกม Revit Arhcitecture / Structure / MEP หรือแม้กระทั่ง AutoCAD, AutoCAD Based Program เช่น AutoCAD Civil 3D และ Construction Utility Program เช่น Naviswork โดยมี workflow ตัวอย่างคร่าวๆดังนี้















ตัวอย่างการนำข้อมูลสำรวจมาใช้ในการออกแบบ โดยใช้โปรแกรม Autodesk ทั้งทางด้านงานออกแบบอาคาร ซ่อมแซมอาคาร กับโปรแกรม Revit Arhcitecture / Structure / MEP หรืองานออกแบบสาธารณูปโภค เช่น งานออกแบบถนน กับโปรแกรม AutoCAD Civil 3D จะหาตัวอย่างมาให้ดู ขอเป็นคราวหน้า โดยจะนำตัวอย่างที่ทำบรรยายหัวข้อบรรยายเรื่อง New Survey Data – Cloud Data (Laser Scan Data) and the way to use this survey information in Architecture and Civil/Survey  นำมาลงให้ดู กำลังอยู่ในระหว่างการถ่ายทำครับเพราะยังไม่มีใครเชิญไปบรรยายหัวข้อนี้เลยทำไม่เสร็จสักที






หวังว่าคงได้ข้อมูลการสำรวจในระบบ Laser Scanner ไปบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อนำไปเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการค้นคว้าของท่านต่อไป