Civil 3D picture

Civil 3D picture

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง Autodesk Land Desktop และ AutoCAD Civil 3D (1/2)












1.       โปรแกรม
LDT โปรแกรมครบชุดประกอบด้วย 3 โปรแกรม โดยมีโปรแกรมหลัก (core program) คือโปรแกรม Autodesk Land Desktop และมีโปรแกรมเฉพาะทางประกอบคือโปรแกรม Autodesk Survey สำหรับงานสำรวจ และโปรแกรม Autodesk Civil Design สำหรับงานออกแบบพื้นที่และถนน

C3D โปรแกรมมีเพียงโปรแกรมเดียว โดยรวมฟังก์ชั่นการทำงานทุกอย่างไว้ด้วยกัน

2.       การเปิดไฟล์
LDT มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าในการต้องเปิดโปรเจค (project) และการเปิดไฟล์งานแบบวาด (drawing) โครงสร้างไฟล์มี subdirectory ของโปรเจค และไฟล์งานแบบแยกกันอยู่ เวลาทำงานต้องใช้พร้อมกันทั้งแบบวาดและฐานข้อมูลในโปรเจค จึงจะสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

C3D สามารถเปิดไฟล์ DWG ได้เลย โครงสร้างไฟล์มีแบบวาด (drawing) format DWG ไฟล์เดียวที่เก็บทั้งงานแบบและข้อมูล

3.       การทำ Point Label
LDT เมื่อ import points เข้ามาในแบบวาดแล้ว การแก้ไข Label ของจุดพิกัดทำได้จำกัด และยุ่งยาก

C3D เมื่อ import points เข้ามาในแบบวาดแล้ว สามารถแก้ไขการแสดงผลของจุดพิกัดได้ง่ายกว่า และสามารถแสดงผลที่แตกต่างกันของกลุ่มของจุดพิกัดกลุ่มต่างๆได้ โดยการแก้ไขที่ Style ควบคุมการแสดงผล

(ในเนื้อหาเรื่องการสำรวจ ยังไม่รวมความสามารถใหม่ๆที่ LDT ไม่สามารถทำได้ หรือทำได้ไม่เทียบเท่าเนื่องด้วยเทคโนโลยียุคก่อนยังพัฒนาไม่ถึง เช่นการทำงานกับ Google Earth เพื่อการทำ preliminary design หรือการทำงานกับ Laser Scanner  - Point Cloud เป็นต้น)

4.       การแสดงผล การแก้ไข และการสร้างรายงานจุดพิกัด (Point Information)
LDT การเข้าถึงข้อมูลจุดพิกัดเพื่อแสดงผลหรือแก้ไข ต้องแก้ไขที่ระบบฐานข้อมูล และรูปวาดในแบบวาด (drawing) เช่นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลค่าพิกัด ถ้าไปแก้ไขที่ฐานข้อมูล จะมีคำสั่งช่วยเตือนในการ update ที่งานแบบ ถ้าแก้ไขที่งานแบบจะต้องทำการ update ที่ระบบฐานข้อมูลด้วย ซึ่งบางคำสั่งมีการเตือน บางคำสั่งก็ไม่มีคำเตือนให้ update ฐานข้อมูล  การทำรายงานทำได้ในแบบ text format ที่ค่อนข้างจำกัดในเรื่องการแสดงผล

C3D สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของจุดพิกัดได้โดยตรงเพื่อตรวจสอบหรือแก้ไข หรือทำการแก้ไขจุดพิกัดที่แบบวาดได้โดยตรง การ update จะทำอัตโนมัติไม่ว่าแก้ไขจากทางใด  สามารถสร้างรายงานของกลุ่มจุดพิกัดตามที่ต้องการได้ง่ายกว่า


5.       การสร้างพื้นผิว (Surface)
LDT ใช้เวลาในหลายขั้นตอนในการสร้างพื้นผิว และคำสั่งสร้างเส้นแสดงชั้นความสูง (contours) จากข้อมูลพื้นผิวนั้น  เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวข้องเช่นแก้ไขข้อมูลจุดพิกัด ต้องทำการ update และสร้างพื้นผิวใหม่ทุกครั้ง จากนั้นก็ต้องสั่ง update เส้นแสดงชั้นความสูงจากข้อมูลพื้นผิวใหม่ เพื่อให้ได้เส้นแสดงชั้นความสูง (contours) ใหม่ที่ถูกต้อง

C3D ใช้เวลาในการสร้างพื้นผิวน้อยกว่า สามารถกำหนดให้พื้นผิวทำการ update อัตโนมัติ เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่นแก้ไขข้อมูลจุดพิกัด โปรแกรมก็จะ update พื้นผิวใหม่ และสร้างเส้นแสดงชั้นความสูงจากข้อมูลพื้นผิวใหม่ ให้ทันที

6.       งานเกรดดิน (Grading)
LDT การทำงานจะเป็นในรูปแบบการทำงานกับ polyline แล้วกำหนดเงื่อนไขการทำงาน เช่นกำหนดค่า slope / grade เพื่อสร้างเส้น หรือข้อมูลงานเกรดขึ้น การคำนวณและผลที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ 2 มิติ ต้องให้โปรแกรมคำนวณแล้วสร้างให้ เช่น ภาพตัดขวาง (cross sections) ของงานเกรด การจะดูงานเกรด 3 มิติต้องผ่านขั้นตอนทำการสร้างพื้นผิว ถ้ามีการแก้ไขข้อกำหนดการเกรด ก็ต้องย้อนทำขั้นตอนแรกใหม่

C3D มี Feature line มาช่วยในการทำงานแทน polyline ที่ทำงานได้ในแบบ 3 มิติ สามารถแก้ไข กำหนดเส้น feature line ในแบบ 3 มิติ การเกรดก็จะเป็นแบบ 3 มิติ สามารถกำหนดการสร้างพื้นผิวอัตโนมัติ สามารถตรวจสอบในแบบ 3 มิติได้ทันที และเมื่อแก้ไขข้อกำหนดการเกรด พื้นผิวก็จะปรับเปลี่ยนให้อัตโนมัติ ทำให้ได้ค่างานเกรดที่เปลี่ยนให้ใหม่ทุกครั้ง สะดวกต่อการออกแบบ

(มีต่อภาค 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น