Civil 3D picture

Civil 3D picture

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Point Cloud Data กับการออกแบบสถาปัตยกรรม 2

ชนิดของภาพ (Types of Images)  ภาพอิมเมจที่จะนำมาใช้ลงในแบบวาด (drawing) มีหลากหลายชนิด (types of images) และสามารถแสดงผลภาพเหล่านั้นหลายๆแบบ  สามารถควบคุมการแสดงผลด้วย Color map  โปรแกรมจะจดจำชนิดของภาพที่ใส่เข้ามาในแบบ และกำหนด color map ให้  เพื่อการทำงานกับภาพในรูปแบบต่างๆ เราสามารถแก้ไข color map หรือ image types และสร้าง insertion ใหม่ที่มี type และ color map แตกต่างออกไป

ในที่นี้ขออ้างอิงถึงโปรแกรม AutoCAD Raster Design ที่ทำงานบน AutoCAD, Civil 3D เพื่อความสะดวกในการยกตัวอย่าง

Image data attributes

 


ความแตกต่างของ color map จะมี attributes สำหรับการใช้งาน ตัวอย่างเช่น

  • Bitonal color map ควบคุมสีที่กำหนดให้กับ linework (สีของ foreground) และ background ของภาพขาวดำ (bitonal image)
  • การปรับ color map ของภาพ image จะใช้ AutoCAD Image Adjust ไดอล็อกบ็อกซ์ ในการควบคุมค่าความสว่าง (value of brightness), contrast และ ความจางของภาพ (fade)
  • Palette Control map มีหลายตัวเลือก (options) เพื่อแปลค่าและแสดงผลข้อมูล (interpreting & displaying)  ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถแสดงผล surface elevation, slope หรือ aspect ด้วยการเลือกช่วงของข้อมูล (data range) และกำหนดสีให้กับช่วงข้อมูลนั้น
  • Band assignment color map จะกำหนด data band ที่จะแสดงผล และจะใช้สีอะไร (color channel – red/green/blue) ในแต่ละ band  การกำหนด channels ให้กับ bands ด้วยวิธีพิเศษ ทำใก้สามารถสร้างภาพแบบ false color image สำหรับการวิเคราะห์ เช่นการแสดงผลพื้นที่เพาะปลูกหรือแหล่งน้ำ เป็นต้น

ความสามารถพื้นฐานของโปรแกรม Conversion

ามารถใส่ภาพ Raster ในแบบวาด (drawing) แล้วสามารถแก้ไข ตำแหน่ง ขนาดสเกล ค่าการแสดงผล (display value) เช่น ค่าความสว่าง (brightness) ค่า contrast นอกจากนี้ยังสามารถทำงานกับภาพ raster ได้คือ

  • ทำการแก้ไขข้อมูล raster data ของภาพ (image) ได้อย่างถาวร
  • สามารถใส่ภาพ (image) ที่มีค่าการปรับแก้ (correlation data) ลงในแบบวาด (drawing)
  • สามารถ save ภาพ (image) ได้ใน Format อื่นๆ
  • สามารถ Export ภาพ (image) ออกไปเป็นไฟล์ external correlation files

การแปลงภาพ (Image / Raster) ให้เป็น Vector เพื่อเอาไปเขียนแบบหรือออกแบบต่อไป โดยการทำงานจะสามารถทำได้ 3 แบบคือ

    1. Manual

การทำงานแบบเดิมด้วยมือจะเป็นการใช้กระดาษไขทาบลงบนพิมพ์เขียวแล้วใช่ดินสอหรือปากกาวาดตามแบบบนไข เสร็จแล้วนำแบบไขที่วาดไปใช้งานออกแบบเพิ่มเติม

ต่อมามาการใช้เครื่อง Digitizer ที่เป็น hardware ต่อกับคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรม CAD การใช้งานทำได้โดยการนำแบบพิมพ์เขียวเดิมมาติดบนโต๊ะ Digitizer (ภาพประกอบ) ที่มีอุปกรณ์คล้ายเม้าส์ ที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อคลิกบอกตำแหน่งตรงพิมพ์เขียวให้กลายเป็นตำแหน่ง coordinate บนโปรแกรม CAD การทำงานแบบนี้ต้องพึ่งอุปกรณ์ Digitizer ซึ่งมีหลายขนาดราคาก็แพงขึ้นตามลำดับ

ตั้งแต่ AutoCAD Release 14 เป็นต้นมา เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรมม CAD กับการทำงานกับภาพ เมื่อถึงตอนนี้สามารถ Import ไฟล์ภาพเข้า AutoCAD ได้โดยตรง แล้วสามารถ Digitize ตามเส้นที่หน้าจอด้วยโปรแกรม AutoCAD ได้เลย ทำให้อุปกรณ์ Digitizer ลดบทบาทการทำงานลงไปจนสูญพันธ์ไป การ Digitize ที่หน้าจอก็ยังเป็นการแปลงแบบ manual ที่เรายังลากเส้นที่ละเส้นหรือเขียนที่ละเส้นเหมือนเดิม เปลี่ยนจากใช้กระดาษไข และ Digitizer มาทำงานบนหน้าจอ ที่มีความสะดวก ประหยัดและถูกต้องมากขึ้นนั่นเอง
      การทำงานวิธีนี้จะใช้เวลามากที่สุด

   2. Semi-Automatic



ในเวลาต่อมาเริ่มมีโปรแกรมแปลงภาพเกิดขึ้นมากมายทั้งแบบ Stand Alone ทำงานด้วยตัวเอง และโปรแกรมที่ทำงานบน AutoCAD พร้อมๆกัน โปรแกรมบางชนิดอาจจะไม่สามารถทำงานแบบ Automatic ได้ (เช่นโปรแกรม Autodesk Raster Design) บางโปรแกรมสามารถทำงานได้ทั้งแบบ Automatic และ Semi-Automatic

ลักษณะการทำงานจะมี function ช่วยในการแปลงภาพเช่นคำสั่งลากเส้นที่ช่วย snap ที่ pixel ของภาพได้เพื่อความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ช่วยลบเส้นภาพเมื่อเกิดการ convert  หรือมี function ช่วยในการ trace ลายเส้น ที่มักใช้มากกับไฟล์ภาพเส้นแสดงชั้นความสูง (Contours map) ที่สามารถช่วยในการแปลงเส้นและใส่ค่าความสูงของแต่ละเส้นเมื่อแปลงเสร็จ สามารถนำไปใช้สร้างรูปพื้นที่ 3 มิติของพื้นที่ต่อได้เลย การทำงานแบบนี้จะสะดวกและเร็วกว่าวิธี manual (แบบ manual สมมติคลิกเส้น contour 1 เส้น ใช้เวลา 3 นาที แต่ Function Trace เส้นสามารถ Trace และแปลงเส้นขนาดที่เท่ากันเป็น CAD ใน 1-2 วินาที เป็นต้น) เทียนกับแบบ manual การทำงานก็ยังทำที่ละเส้นอยู่ดีเพื่อความถูกต้อง ซึ่งก็ยังต้องใช้เวลา แต่น้อยกว่า และมีข้อดีคือผู้ใช้สามารถตรวจสอบความถูกต้องระหว่างที่ทำงาน ทำให้ได้งานที่แปลงเป็น CAD ที่มีความถูกต้องมากขึ้น
            การทำงานแบบ Semi-Automatic จะใช้เวลาพอสมควร ช่วงเวลาอยู่ระหว่างแบบ   
        manual และ Automatic 

  3. Automatic

          วิธีนี้ส่วนใหญ่มักบอกว่าเป็นวิธีที่เร็วที่สุด ถูกต้องในระดับหนึ่ง เพราะการแปลงแบบนี้อาจจะเร็ว
          แต่ผลที่ได้อาจจะไม่ใช้แบบแปลงที่ดีหรือใช้ได้ทั้งหมด คืออาจจะมี CAD ขยะปนออกมาทำให้
          ต้องเสียเวลาซ่อมหรือลบทิ้ง เพราะจุด 1 จุด ที่หลงอยู่โปรแกรมก็อาจแปลงเป็นจุด (point)
          หรือเส้น (line) เล็กๆ ให้ ความช้าเร็วและความถูกต้องขึ้นกับความสามารถของโปรแกรม และ
          ความละอียดและสะอาดของพิมพ์เขียวเป็นหลัก ถ้าแสกนพิมพ์เขียวค่อนข้างสะอาด
          (โปรแกรมด้าน Conversion จะมี function – clean ทำความสะอาดแบบ
          แต่ต้องแลกด้วยความคมชัดที่ลดลงตามอัตราการทำความสะอาด) การ Convert แบบก็จะเร็ว
          และถูกต้องมากขึ้น วิธีนี้จะใช้กับแบบที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก การที่วิธีนี้กินเวลามาก
          จะอยู่ที่แบบไม่สะอาด เส้นสายในภาพขาด แหว่ง เมื่อแปลงภาพแล้วต้องมาใช้ CAD
      ซ่อมต่อเช่น เชื่อมเส้น ใส่ text เพิ่ม หรือลบ CAD ขยะที่เกิดขึ้น เป็นต้น


ตอนหน้าหัวข้อปิดท้าย series นี้
แปลงข้อมูล Laser Scanner (การนำข้อมูลมาใช้ออกแบบด้วยโปรแกรม Revit Architecture)