ประเทศสิงคโปร์กับการขออนุมัติแบบอิเลคทรอนิคด้วย
BIM
ในวันที่ 1 ธันวาคม 2014 ประเทศสิงคโปร์บังคับใช้การขออนุมัติแบบอิเลคทรอนิคด้วย
BIM (BIM
e-submission) สำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่กว่า 5000 ตารางเมตร
การปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมก่อสร้างของสิงคโปร์ จากงานเขียนแบบบนกระดาษเป็นเมืองอัจฉริยะ
ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการวางวิสัยทัศน์กำหนดว่าประเทศจะเป็นอย่างไรในปี 2030 ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา เมื่อมีการแนะนำระบบการขออนุมัติการก่อสร้างทางอิเลคทรอนิค (e-submission) เป็นครั้งแรก เป็นการขับเคลื่อนที่รวดเร็วในสองด้านคือ การทำให้กระบวนการขออนุมัติการสร้างอาคารเป็นแบบอัตโนมัติ และเป็นการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างโดยการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
การขออนุมัติการสร้างอาคาร
เป้าหมายชองประเทศสิงคโปร์นั้นง่ายไม่ซับซ้อน เป็นการวางระบบการขออนุมัติการสร้างอาคารที่เร็วที่สุดในโลก หน่วยงานอาคารและการก่อสร้าง (Building and Construction Authority- BCA) เป็นหน่วยงานหัวหอกที่ช่วยแนะนำและประสานองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตั้ง (implement) ระบบการขออนุมัติการสร้างอาคารด้วย BIM ทางอิเลคทรอนิค (e-submission) ระบบแรกของโลก ระบบการขออนุมัติการสร้างอาคารด้วย BIM ทางอิเลคทรอนิค (e-submission) นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการขออนุมัติแบบปกติ ทีมงานออกแบบโครงการเพียงแค่ยื่นแบบโมเดลอาคารเท่านั้น โดยโมเดลนั้นจะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆที่จำเป็นทั้งหมดตรงตามข้อกำหนดที่หน่วยงานที่กำกับดูแลได้กำหนอเอาไว้ ในปี 2010 มี 9 หน่วยงานที่กำกับดูแลได้รับโมเดล BIM 3D ทางสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุมัติผ่านทาง ระบบการขออนุมัติการสร้างอาคารทางอิเลคทรอนิค (e-submission) ทั้งนี้ตามมาด้วยการได้รับโมเดลทางงานระบบในอาคาร (งานระบบปรับอากาศ งานระบบไฟฟ้าและงานสุขาภิบาล) และโมเดลงานโครงสร้างในปี 2011 ในปี 2013 รัฐบาลสิงคโปร์เริ่มบังคับใช้ ระบบการขออนุมัติงานสถาปัตยกรรมอาคารด้วย BIM ทางอิเลคทรอนิค (e-submission) สำหรับโครงการอาคารที่มีพื้นที่มากกว่า 20,000 ตารางเมตร และในปี 2015 ทุกโครงการที่มีพื้นที่มากกว่า 5,000 ตารางเมตร ต้องขออนุมัติด้วยระบบการขออนุมัติการสร้างอาคารด้วย BIM ทางอิเลคทรอนิค (e-submission)
ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้าง
ด้วยแนวคิดริเริ่มที่สำคัญของรัฐบาลในครั้งนี้ก็มีผลเกี่ยวเนื่องไปสู่การพัฒนาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการก่อสร้างโดยผ่านการใช้ประโยชน์จาก
BIM ให้ได้ 20-30% ในปี 2010
หน่วยงานอาคารและการก่อสร้าง (Building and Construction
Authority- BCA) ได้จัดวาง แผนงานปฏิบัติการ BIM (BIM
Roadmap) ด้วยวัตถุประสงค์ต้องการให้ BIM ถูกใช้อย่างแพร่หลาย
ในอุตสาหกรรมก่อสร้างภายในปี 2015 วัตถุประสงค์ระยะยาวของรัฐบาลมีความต้องการที่จะสร้างภาคองค์กรก่อสร้างที่มีความสามารถประสานการทำงานขั้นสูง
และใช้เทคโนโลยี ที่ก้าวล้ำนำยุค นำพาโดยบริษัทชั้นนำ
และมีการสนับสนุนด้วยแรงงานที่มีความฃำนาญและเชี่ยวชาญภายในปี 2020
ที่งานประชุม BIM Worldwide: Solutions for Canada ที่เมืองโตรอนโต คุณ Cheng Tai Fatt ผู้อำนวยการ BCA และคุณ William Lau จากบริษัท William Lau Architects และอดีตประธาน Building SMART ประเทศสิงคโปร์ ได้ให้ภาพรวมเกี่ยวกับการวางระบบ BIM ให้กับเมืองที่มีการปรับเปลี่ยน/เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนี้ (ประเทศสิงคโปร์) และแผนงาน BIM ในอนาคตไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว
ในหน้าเว็บ BIM Worldwide: Solutions for Canada หัวข้อ
BIM Worldwide: Session 1 Early Adopters of BIM
Learn from some of the first countries to widely use BIM. Hear from speakers from Finland, Singapore and Norway on the benefits they have seen in their design, construction and facilities maintenance industries. Get insight into how BIM was adopted and first-hand perspectives on the impact it has on day to day activities.
How were they able to implement BIM in their built environments?
What impact are they seeing in the construction and asset management industries?
How is BIM being used today in projects less than $50M in value?
ในปี 2013 หน่วยงานสำรวจข้อมูลการปรับใฃ้เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม พบว่า จากบริษัทที่สำรวจ มีบริษัท 76% เรื่มมีการนำ BIM มาปรับใช้กับงาน และยังประมาณการว่า จะมีบริษัถึง 96% ที่จะเริ่มมีการนำ BIM มาปรับใช้กับงานภายในสิ้นปี 2015 จากการสำรวจยังพบว่า ในปี 2013 จากบริษัทที่สำรวจ มีบริษัทถึง15% ที่ใช้ BIM มากกว่า 50% ของโครงการ มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2012 ที่ตอนนั้นมีบริษัทเพียง 4% เท่านั้นที่ใช้ BIM
การประยุกต์ใช้งาน
BIM พื้นฐานของสิงคโปร์มีดังนี้
- Design visualization
การใช้ดูงานการออกแบบ
- Clash detection
การตรวจสอบการชนกัน
- Construction coordination modeling การประสานงานโมเดลแบบ
- Construction phasing and scheduling การทำช่วงระยะการก่อสร้างและประสานตารางเวลาการทำงาน
- Quantity take-off
การถอดปริมาณวัสดุ
- Documentation/specification management การทำงานเขียนแบบ การบริหารควบคุม
- Design analysis including energy, solar
and wind analyses การวิเคราะห์การออกแบบด้าน พลังงาน
แสงอาทิตย์ และลม
ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการพัฒนา BIM อยู่บนพื้นฐานที่ให้ภาคธุรกิจเป็นผู้นำทาง แต่ยุทธศาสตร์นี้ก็ได้ถูกออกแบบให้มีการช่วยเหลือ สนุบสนุนเพื่อจูงใจภาคธุรกิจด้วยการให้การโปรโมทประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของการทำงานขององค์กร และการขจัดการต่อต้าน ในขั้นตอนต่อมาคือการพัฒนาชุดของเอกสารแนะนำการปรับใช้ BIM กับงานในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ จัดการข้อกำหนดทางกฏหมาย และกรอบสัญญา (contractual framework) สำหรับโครงการที่นำ BIM มาใช้งาน และศึกษาขั้นตอนการใช้ BIM (BIM Workflow) รวมถึงการทำงานประสานการทำงานระหว่างผู้ให้บริการที่ปรึกษาและผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อศึกษาหาแนวทางเลือกในการทำงานร่วมกัน เช่น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างจะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการเร็วขึ้น และการประสานการทำงานโครงการในรูปแบบ การพัฒนาโครงการแบบบูรณาการ (integrated project development – IPD)
รัฐบาลได้ใฃ้ความพยายามอย่างมากในการที่จะใช้ความสามารถ ประสิทธิภาพและสมรรถนะของ building BIM ให้ครอบคลุมให้มากสุด จับมือเดินไปด้วยกัน และการให้คำปรึกษา และให้การฝึกอบรมโปรแกรม (รัฐบาลให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการฝึกอบรม BIM มากถึง 50%) มหาวิทยาลัยและสถานฝึกสอนวิชาชีพ (polytechnics) หลายแห่งในสิงคโปร์ต่างเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในด้านการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับ BIM และทางด้านการศึกษาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
รัฐบาลยังสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานการปรับใช้งาน BIM (BIM standards) ตัวอย่างช่น มาตรฐาน IFC (buildingSMART's Industry Foundation Classes) และตัวอย่างที่ หน่วยงานอาคารและการก่อสร้าง (Building and Construction Authority- BCA) และ buildingSMART Singapore ช่วยกันพัฒนาคลังชิ้นส่วนของวัสดุอาคารที่จำเป็นสำหรับการออกแบบและก่อสร้าง รวมถึงแนวทางและข้อแนะนำการประสานงานโครงการ (project collaboration guidelines)
ข้อกำหนดแนวทางระยะที่ 2 ของ BIM ของประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคปร์กำลังพัฒนาแผนงานแนวทางของ BIM ในระยะที่สอง เป็นการพุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนขั้นตอนกระบวนการ, การค้นคว้าวิจัยและพัฒนาด้าน BIM, BIM สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง, และ BIM สำหรับการบริหารงานอาคาร แผนงานแนวทางของ BIM ในระยะที่สองนี้มีความคล้ายคลึงกับ แผนงานแนวทางระยะที่ 3 ของประเทศอังกฤษ (UK Government's BIM Level 3 strategy)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น